กิจกรรม ในประเทศ กับ อาจารย์ วิเชียร วงศ์ศุภลักษณ์ Path 1
จุดเริ่มต้นเมื่อ 30 ปีที่แล้ว องค์การอนามัยโลก WHO มียุทธศาสตร์ให้ประเทศที่กําลังพัฒนาใช้การแพทย์พื้นบ้าน เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพประชาชน กระทรวงสาธารณสุข โดยสํานักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน ได้คัดเลือกสมุนไพรไทยพื้นบ้าน 5 ชนิด มีมาตราฐาน เป็นที่นิยม ใช้ได้ง่ายปลอดภัย จัดทำสื่อต่างๆ ให้เข้าถึงประชาชนในชนบท อย่างง่ายและชัดเจน มีโปสเตอร์ ภาพพลิก สไลค์ เอกสาร แผ่นพับ และหนังสือ คู่มือ สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน สําหรับบุคลากรสาธารณสุข และประชาชน อาจารย์ วิเชียร วงศ์ศุภลักษณ์ ได้เข้ามาสนับสนุนการออกแบบ ลงพื้นที่ ถ่ายภาพ สร้างสื่อสมุนไพรไทยเริ่มแรก 1 ทำให้เห็นปัจจุบัน สมุนไพรไทย การแพทย์แผนไทยมีคุณค่า เพิ่มมูลค่ามากขึ้น |
|||
อีกหลายปีต่อมา กลุ่มงานสมุนไพร การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย ในงานสาธารณสุขมูลฐาน มีการพัฒนา เป็นที่ยอมรับเพิ่มมากขึ้น เมื่อกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับขยายองค์กรและมีภารกิจก้าวทันการพัฒนาตามกระแสโลก ความสำคัญของภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน สมุนไพรไทย อาหารไทย รวมทั้งการดูแลสุขภาพแบบวิถีไทย ได้จัดตั้งเป็น กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นอีกกรมหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุข ถึงปัจจุบัน อาจารย์ วิเชียร ยังให้คําปรึกษาผู้บริหารในหลายๆ มิติ |
|||
ส่วน อสม. ที่มีภาระกิจดูแลสุขภาพฐานรากในระดับครัวเรือนตั้งแต่ต้น กระทรวงฯได้พัฒนาองค์ความรู้ด้านสุขภาพ สามารถเป็นผู้ช่วยแพทย์ในชุมชนได้เป็นอย่างดี ถูกยกระดับเข้ามาเป็นส่วนสำคัญของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข นอกจากนั้น การออกแบบ สื่อสิ่งพิมพ์ การให้คําปรึกษา ในด้านทัศนศิลป์ ให้กับกรม กอง ต่างๆ อาจารย์ วิเชียร ได้เข้ามาร่วมคิด ช่วยทำ เป็นผู้มีคุณูประการกับกระทรวงสาธารณสุขมาอย่างยาวนาน มีความผูกพันให้หลายๆคนคิดว่าอาจารย์เป็นข้าราชการของกระทรวงสาธารณสุข |
|||
ในการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ เมื่อ กันยายน 2558 อาจารย์ได้รับการประกาศเกียรติคุณ เป็นผู้อุปการะคุณให้กับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกอย่างยิ่งยวดมากกว่า 10 ปี |
|||
อาจารย์วิเชียรได้ออกแบบหนังสือให้อยู่ในความประทับใจ.... อาทิ |
|||
หนังสือที่ระลึกในพิธีเปิดอนุสาวรี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว |
|||
ที่ระลึก พระราชทานเพลิงศพ นายแพทย์มะลิ ไทยเหนือ |
|||
ที่ระลึกพิธีเปิด อาคารพิธภัณฑ์โรงพยาบาลราชานุกูล |
|||
ที่ระลึกพิธีเปิด กระทรวงสาธารณสุขแห่งใหม่ จังหวัดนนทบุรี |
|||
ที่ระลึก ครบรอบ 50 ปี กระทรวงสาธารณสุข |
|||
ที่ระลึกครบ 60 ปี ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเกือบทุกๆ ท่าน |
|||
มีส่วนร่วมคิดร่วมทำกับคุณหมอเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย |
|||
และเอกสาร คู่มือ ตําราเรียนต่างๆของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และหนังสือคู่มือการเรียนของ มูลนิธิโครงการพัฒนาตํารา |
|||
เป็นผู้เขียนโครงการจัดประกวดปฏิมากรรมเพื่อสุขภาพ ติดตั้งในพื้นที่กระทรวงสาธารณสุข 5 จุด การจักประกวดภาพวาด สุขภาพดีด้วยพระบารมี ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จัดทำวารสาร กระทรวงสาธารณสุข กับท่านนายแพทย์ จํารูญ มีขนอน |
|||
กับการอนุรักษ์ป่าไม้ “ป่าสวย น้ำใส ตะวันฝัน” เมื่อ 25 ปีที่แล้ว | |||
คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช ได้มอบหมายให้อาจารย์ วิเชียร วงศ์ศุภลักษณ์ นําเพื่อนศิลปิน |
|||
กลุ่มตะวัน ไปดูพื้นที่ป่าต้นน้ำถูกทำลาย และการอนุรักษ์ป่าไม้ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เขตพื้นที่อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีพระอธิการพงษ์ศักดิ์ เตชะธัมโม เจ้าอาวาส วัดผาลาด พระนักพัฒนา รางวัลคนดีศรีสังคม และรางวัล GLOBAL 500 ของสหประชาชาติ |
|||
ด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมกับชาวบ้าน อนุรักษ์ป่าไม้ต้นน้ำเอาไว้ได้ บันดาลฝันให้ศิลปินสร้างสรรค์ภาพวาดมาจัดแสดงในกรุงเทพฯ มากกว่า 100 ภาพ สร้างกระแสการอนุรักษ์ป่าไม้ ได้รับผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์แล้ว ทำให้ศิลปินกลุ่มตะวัน อาจารย์วิเชียรมีความรักษ์ป่าไม้ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติติดตัวมาถึงทุกวันนี้ |
|||
กับงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง |
|||
งานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง เป็นกิจกรรมเทิดพระเกียรติ์ สมเด็จย่า เริ่มจัดครั้งแรกและครั้งที่สอง ที่โรงแรมมณเฑียร กรุงเทพฯ อาจารย์วิเชียร ได้รับมอบหมายในการออกแบบสูจิบัตรและจัดพิมพ์สูจิบัตร เมื่อได้ย้ายการจัดงานไปจัดแสดงในสถานที่จริง ไร่แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดย อาจารย์ นคร พงษ์น้อย ผู้อํานวยการไร่แม่ฟ้าหลวง มอบหมายให้อาจารย์วิเชียร นําภาพวาดกล้วยไม้ป่าไปแสดงเดี่ยวในไร่แม่ฟ้าหลวง ก่อนจะมีกิจกรรมการแสดงละครแสงสีเสียงกลางสวนสวย โดยมีภาพวาด ดอกเอื้องแซะ สัญญาลักษณ์กล้วยไม้ป่าที่มีคุณค่า มีกลิ่นหอม นําไปเป็นปกสูจิบัตร ชื่องาน “ขุนวิรังคะและเอื้องแซะ” การจัดงานครั้งนั้นเป็นที่สนใจ มีผู้ไปชมงานจากกรุงเทพอย่างคับคั่ง | |||
ต่อมาครั้งที่สอง ได้มีการพัฒนางานยิ่งใหญ่กว่าเดิมมาก มีการเนรมิตพื้นที่จัดงานออกไปหลายสิบไร่ รอบๆไร่เดิม เพื่อให้ขบวนให้วสา ชาวเขาเผ่าต่างๆหลายร้อยคนเทิดพระเกียรติสมเด็จย่าฯ ในชื่องาน “ศิขริณรัญจวน” อาจารย์วิเชียร ถูกเลือกให้เป็นผู้วาดภาพ และจินตนาการวิถีชาวเขาบนดอยสูง เพื่อใช้เป็นแบบโปสเตอร์ ประชาสัมพันธ์งาน ทำให้เกิดความผูกพันกับวิถีชาวเขา ต่อมา อาจารย์ได้ขึ้นไปสัมผัสชุมชนชาวเขาหลายๆเผ่า จังหวัดเชียงราย ที่ยังมีความยากแค้น รังสรรค์ภาพวาด | |||
ชุดสุดขอบฟ้า ได้มอบภาพวาด ชุดสุดขอบฟ้า พิมพ์บัตรส.ค.ส.ให้กับมูลนิธิพัฒนาชุมชนในเขตภูเขา หารายได้โดยไม่คิดมูลค่าหลายครั้ง |
|||
กับโครงการศิลปาชีพ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต | |||
มูลนิธิธนาคารกรุงเทพฯจัดประกวดภาพวาดต้นแบบผ้าปักไหมให้กับโครงการศิลปาชีพฯและจัดแสดง อาจารย์วิเชียรได้รับมอบหมายให้ เป็นผู้ออกแบบสูจิบัตรและรับเชิญร่วมแสดงภาพวาดแล้วยังได้มอบภาพโอ่งน้ำใจ ท่ามกลางดอกกล้วยไม้ บรรยากาศขุนเขา ในหม่านหมอก |
|||
ถวายให้เป็นแบบผ้าปักไว้ในโครงการฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต ทรงเสร็จในพิธีเปิดด้วย |
|||
|
|||
กับมูลนิธิธนาคารกรุงเทพฯ |
|||
การประกวดภาพ จิตรกรรมบัวหลวง ในยุคแรกๆก่อนที่จะพัฒนาเป็นหอศิลป์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต อาจารย์วิเชียร ได้รับมอบหมายในการออกแบบสุจิบัตรทุกๆครั้ง สุจิบัตร จิตรกรรมบัวหลวงต่อมา ยังคงรูปแบบที่อาจารย์ทำไว้ มีเอกลักษณ์ถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น หนังสือสำคัญ เร่งด่วน เน้นความสวยงาม และมีคุณค่า ที่มูลนิธิธนาคารกรุงเทพฯ ได้รับมอบหมายจากผู้บริหาร อาจารย์วิเชียรจะถูกเรียกใช้บริการและต้องทำให้เสร็จ ทันกําหนดการทั้งงานพระราชทานเพลิงศพ งานกฐิน ในโอกาศพิเศษ อาทิ |
|||
คุณหญิงสุมณี โสภณพนิช ท่านผู้หญิงตุ่น โกศัลวิตร คุณวิระ รมยะรูป คุณคมคาย รอดลอดทุกข์ บัวหลวงระบายสี ประมวลภาพรางวัลจิตรกรรมบัวหลวงครั้งที่ 1-19 |
|||
กับกิจกรรมส่วนอื่นๆตลอด 30 กว่าปี |
|||
อาจารย์วิเชียรได้เข้าไปมีส่วน ร่วมคิดร่วมทำให้เกิดความสําเร็จ ทั้งส่วนราชการ และภาคเอกชนโดยใช้ความรอบรู้ทางด้านศิลปะ บูรณาการความรู้ ทั้งกลุ่มเด็ก เยาวชนได้ศิลป์ กลุ่มครูสอนศิลป์ กลุ่มประชาชนใฝ่ศิลป์ |
|||
การนวดไทย สปาวิถีไทย โดยการสนับสนุน กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก จังหวัดนนทบุรี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และยังรับเป็นประธาน ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดนนทบุรี ให้เกิดการท่องเที่ยวแนวใหม่ โดยบูรณาการ เกษตรสุขภาพและศิลปะกับธรรมชาติเข้าด้วยกันอย่างมีเอกลักษณ์ |
|||
โดยเฉพาะความสํานึกเรื่องป่าไม้ สิ่งแวดล้อม อาจารย์ใช้ความสามารถด้านศิลปะ และทัศนศิลป์ ประสบการณ์ และการดําเนินชีวิตในหลายๆมิติ มีความสอดคล้อง ตามแนวโครงการพระราชดําริ ด้านอนุรักษ์ป่าไม้ ของทั้งสองพระองค์ |
|||
ภาพวาดของอาจารย์วิเชียร วงศ์ศุภลักษณ์ ทั้งดอกกล้วยไม้ ดอกไม้ต่างๆ ใบไม้ สิ่งเล็กๆในธรรมชาติ โอ่งน้ำใจไมตรี ในบรรยากาศขุนเขาสุดขอบฟ้า ละอองหมอก ฟ้าสลับสี ความสะอาด สงบ และความปราณีต จึงเป็นงาน จิตรกรรมร่วมสมัยที่ใครๆ ก็สามารถสัมผัสได้ แล้ว ความหมายในความงามนั้นยังได้แสดงความเป็นธรรมมะ ธรรมดา ธรรมชาติ ที่มีความโดดเด่นเป็นตัวของเขามีความชัดเจน ทั้งด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ ธรรมชาติ และงานศิลป์อย่างมีเอกภาพ ของศิลปินคนหนึ่งในสังคมไทย |
|||
ในต้นปี 2559 ภาพวาดบ้านที่พ่อสร้าง ผลงานล่าสุด เมื่ออาจารย์วิเชียร วงศ์ศุภลักษณ์ ได้ขึ้นไปศึกษา โครงการพัฒนาตามพระราชดําริ และชักชวนเพื่อนศิลปินจิตอาสา อาจารย์สมชาย วัชระสมบัติ อาจารย์ไมตรีหอมทอง นํานักเขียนลงพื้นที่รังสรรค์เรื่อง บ้านที่พ่อสร้าง หนังสือ เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่มีคุณสุมิตรา จันทร์เงา เขียน ฝันถึงความงดงาม โครงการพัฒนาตามพระราชดําริ ป่า น้ำ และวิถีสุขภาพ |
|||
กับการอนุรักธรรมชาติ | |||
เมื่อครั้งที่ “กลุ่มตะวัน” จัดนิทรรศการ “ป่าสวย....น้ำใส...ตะวันฝัน” ผมได้เรียง ร้อยความคิดความรู้สึกและความใฝ่ฝันของผมและเพื่อนๆ ไว้ในสูจิบัตรครั้งนั้นว่า | |||
“การพิทักษ์ป่า อนุรักษ์ธรรมชาตินั้น เราคงจะให้ใครคนใดคนหนึ่งทำไปเพียง ลําพัง เห็นทีจะไม่ได้อีกแล้ว หากป่าไม้กําลังถูกรุกราน ถูกตัด ถูกทำลาย และกําลัง จะหมดไปจากบ้านเมืองของเรา ทั้งที่ในอดีตนั้น ป่าไม้ของเราอุดมสมบูรณ์” |
|||
ป้องกันป่าเอาไว้ ไม่ช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์ธรรมชาติกันคนละไม้คนละ มือเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้ มองไปในอนาคต หากป่าไม้ถูกทำลายหมดไป ชีวิตเราลูกหลาน ของเราจะอยู่กันอย่างไร” |
|||
แม้ปัจจุบันสภาพการทำลายป่าไม้ ทำลายแหล่งทรัพยากรธรรมชาติจะมีอย่าง มากมาย โดยข้าราชการบางคน นักการเมืองบางกลุ่ม นายทุนหรือกระทั่งชาวบ้านเอง เกินกว่าจะประเมินค่าได้...แต่เราก็ยังมีความหวัง และใฝ่ฝันที่จะเห็นป่าไม้อันเขียว |
|||
ชอุ่มอุดมไปด้วยแหล่งน้ำใส เป็นแหล่งพึ่งพิงของมนุษย์และสัตว์ป่านานาชนิด...เป็น ป่าสวย น้ำใสคู่สังคมไทยตลอดไป |
|||
เมื่อถึงตรงนี้ เรายังฝันต่อไปอีกว่า ประเทศของเราจะมีรัฐบาลที่รักษาป่าเอาไว้ได้ ด้วยการกระทำ ด้วยนโยบายที่เด็ดขาดและชัดเจน....เราฝันที่จะเห็นข้าราชการ เอาใจ ใส่ เอาจริงเอาจังต่อปัญหาป่าไม้ การอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษากฎหมายให้เป็น กฎหมายด้วยหลักคุณธรรม....เราฝันจะเห็นนักการเมืองที่มีอุดดมการณ์อันเปี่ยมล้น ไปด้วยการหวงแหนและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ เป็นสิ่งสำคัญมากกว่า | |||
ผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง....เราฝันจะเห็นศาสนาของเราได้รับการสืบทองอย่างถูกต้อง ตามคําสอนของพระพุทธองค์พระหรือผู้นํา |
|||
ชุมชนชี้นําให้ชาวบ้านรู้คุณค่าของป่าไม้ โทษของการตัดไม้ทำลายธรรมชาติ และส่งเสริมให้ชาวบ้านช่วยกันปลูกป่า ดูแลป่าเพื่อพวกเขาจะ มีชีวิตอยู่กับธรรมชาติได้อย่างมีสมดุล....เราฝันจะเป็นศิลปินร่วมกันสร้างสรรค์ผลงาน ที่ทำให้ผู้คนเกิดความรักและหวงแหนป่าไม้ และ อนุรักษ์ธรรมชาติในทุกๆ รูปแบบ... |
|||
ด้วยความสํานึกที่มีแนวความคิดตรงกันว่า คนทุกคนจะต้องมีส่วนสนับสนุน ส่งเสริมการพิทักษ์ป่า อนุรักษ์ธรรมชาติให้เป็นเรื่องจริงจัง ไม่ใช่เริ่มกันเพียงคําพูด....แต่ต้องปฏิบัติให้เกิดผลอย่างแท้จริง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และเพื่อให้แนวความคิดดังกล่าวสัมฤทธิ์ผล พวกเรา “กลุ่ม ตะวัน” จึงขอเสนอผลงานจิตรกรรมอันเกิดจากความรู้สึกรักและห่วงใยธรรมชาติ จํานวน ๑๘๐ ภาพ และมีความใฝ่ฝันเอาไว้ว่า |
|||
“....เราใฝ่ฝันที่จะเห็นประชาชน หันมาสนใจปัญหาป่าไม้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น” |
|||
“....เราใฝ่ฝันที่จะหาเงินให้กับมูลนิธิธรรมนาถ เพื่อสนับสนุนโครงการพิทักษ์ป่าต้นน้ำลําธาร และอนุรักษ์ธรรมชาติ และ |
|||
“....เราใฝ่ฝันที่จะเผนแพร่ผลงานจิตรกรรมที่เกิดจากความรักของพวกเรา ให้คนอื่นๆ ได้ชื่นชมกันบ้าง” |
|||
นั่นคือการประกาศอุดมการณ์อันมั่นคงของพวกเรา “กลุ่มตะวัน” ต่อการแสดงนิทรรศการ “ป่าสวย น้ำใส...ตะวันฝัน” เมื่อเดือนมีนาคม | |||
๒๕๓๓ ณ โรงแรมมณเฑียร กรุงเทพฯ........ |
|||
จากสุจิบัตรการแสดงนิทรรศการ “ป่าสวย...น้ำใส...ตะวันฝัน |
|||
วิเชียร วงศ์ศุภลักษณ์ |